สร้างรายได้หลักล้านผ่าน IQ Option

วันจันทร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2556

เหรียญนั่งพานชนะมารหลวงพ่อคูณ




 เหรียญนั่งพานชนะมารหลวงพ่อคูณ
วัดบ้านไร่ นครราชสีมา


เหรียญเมตตาหลวงพ่อคูณ
หลวงพ่อคูณรุ่นล่าสุด
          หลวงพ่อคูณ ถือกำเนิดที่บ้านไร่ ม. 6  ต.กุดพิมาน ต.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา ในครอบครัวของชาวไร่ชาวนาที่อยู่ห่างไกลความเจริญบิดาชื่อ นายบุญ ฉัตรพกรัง มารดาชื่อ นางทองขาว ฉัตรพกรัง เมื่อวันพฤหัสบดี ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ.2466 (บางตำราว่าวันที่ 4 ตุลาคม) ตรงกับกันแรม 10 ค่ำ เดือน 10 ปีกุน

         บิดามารดาของหลวงพ่อคูณได้เสียชีวิตลงในขณะที่ท่านยังเป็นเด็ก หลวงพ่อคูณจึงอยู่ในความอุปการะของน้าสาว เมื่ออยู่ในวัยเยาว์อายุ 6-7 ขวบได้เข้าเรีียนหนังสือกับพระอาจารย์เชื่อม วิรโธ พระอาจารย์ ฉาย และพระอาจารย์หลี ทั้งภาษาไทย และภาษาขอม ที่วัดบ้านไร่ อันเป็นสถานศึกษาแห่งเดียวในหมูี่่่บ้าน ไม่ได่้มีโรงเรียนทำการสอน เช่นในสมัยปัจจุบันนอกจากเรียนภาษาไทยและขอมแล้วพระอาจรย์ทั้ง 3 ยังเมตตาอบรมสั่งสอนวิชา คาถาอาคม เพื่อป้องกันอันตรายต่างๆให้แก่หลวงพ่อคูณด้วย

         หลวงพ่อคูณอุปสมบทเมื่ออายุได้ 21 ปี ณ พัทธสีมาวัดถนนหักใหญ่ ต.กุดพิมาน อ.ด่านขุนทด  จ.นครราชสีมา เืมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2487 ตรงกับวันศุกร์  เดือน 6 ปีวอก โดยพระครูวิจารย์ดีกิจ อดีตเจ้าคณะอำเภอด่านขุนทด เป็นพระอุปัชฌาย์ พระกรรมวาจาจารย์ คือพระอาจารย์สุข วัดโคกดรักษ์ หลวงพ่อคูณได้รับฉายาว่า ปริสุทโธ หลังจากเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ก็ได้ศึกษาหาความรู้จาำกอาจารย์มากมายและได้ออกธุดงค์จาริกไปตามป่าเขาลำเนาไพรฝึกปฏิบัติธรรมเบื้องสูงต่อไปแรกๆ ก็ธุดงค์จาริกอยู่ในเขตจังหวัดนครราชสีมา จากนั้นจึงจาริกออกไปไกลๆ กระทั่งถึงประเทศลาว และประเทศเขมร เพื่อทำความเพียรใหเกิดสติปัญญาเพื่อการหลุดพ้นจากกิเลส ตัณหา และอุปาทานทั้งปวง

      ในราว พ.ศ.2493  หลวงพ่อคูณก็เริ่มสร้างวัตถุมงคลโดยเริ่มทำวัตถุมงคลตะกรุดโทน ตะกรุดทองคำเพื่อฝังใต้ท้องแขน ณ วัดบ้านไร่

      ใครขอ กูก็ให้ไม่เลือกยากดีมีจน  เป็นคำกล่าวของท่านเนื่องจากวัตถุมงคลของหลวงพ่อได้ชื่อว่ามีความศักดิ์สิทธิ์และเมื่อมีผู้ถามว่า ไลวงพ่อแจกให้กับคนไม่ดีเป็นโจรผู้ร้ายอย่างนี้หลวงพ่อไม่บาปหรือ

      หลวงพ่อท่านก็ตอบว่า กูจะไปรู้หรือว่ามันเป็นใคร ถ้ามันเป็นโจร เมื่อมันได้รับประโยชน์จากของที่กูแจก มันคงคิดได้ว่า เป็นเพราะพระศาสนา มันจะได้เข้ามาสนใจปฏิบัติธรรม

      การปลุกเสกวัตถมงคลของหลวงพ่อคูณจะใช้คาถาไม่กี่บทเท่านั้นเอง โดยหัวใจของพระคาถามีว่า

                  มะ อะ อุ      นะ ม ะพะ ธะ    นะ โม พุท ธา ยะ        พุทโท และยานะ

แต่ในการปลุกเสก หลวงพ่อคูณจะใช้วิธี อนุโลมปฏิโลม (การต่อตามและย้อนลำดับ) เรียกว่า คาบพระคาถา และะเมื่อนำหัวใจธาตุ 4 คือ นะมะพะธะ มาใช้ หลวงพ่อคูณจะภาวนาด้วยจิตอันเป็นหนึ่ง (สมาธิให้อักขระทั้ง4 นี้ เป็น 13 อักขระ ดังนี้

นะ มะ พะ ธะ    มะ พะ ธะ นะ    พะ ธะ นะ มะ       ธะ นะ มะ พะ


 ระยะเวลาการปลุกเสกของท่านใช้เวลาไม่มากนักขึ้นอยู่กับอารมณ์จิต ท่านเคยปรารภว่า เมื่อจะปลุกเสกวัตถุใต ใจต้องเป็นสมาธิ เมื่อใจมีสมาธิ ปลุกเสกสิ่งใดก็ขลัง ระยะเวลาหนึ่งนาทีก็ดีแล้ว แต่หากจไม่เกิดสมาธิ ปลุกเสกทั้งคืนทั้งวันก็ไม่มีผล อย่างนี้สู้ไปทำอย่างอื่นดีกว่า

    หลวงพ่อคูณสั่งว่า   เมื่อมีพระเครื่องของหลวงพ่อคุณติดตัว ให้ภาวนา "พุทโธ" ทำจิตให้เป็นสมาธิแน่วแน่ ละเว้นถ้อยคำด่าทอ ด่าพ่อแม่ตน และพ่อแม่บุคคอื่น และอย่าผิดสามีหรือภรรยาผู้อื่น ให้สวดมนต์ก่อนเข้านอนทุกคืน ไม่ว่าจะอยู่ที่ใด และหวงพ่อคูณย้ำว่า ถ้ามีใจอยู่กับ พุทโธ ให้เป็นกลางๆ ไม่สอดส่ายไปที่ไหน นั่นหมายความว่า ใจเป็นสมาธิ จะช่วยปกป้องคุ้มครองเราได้ดียิ่ง  ยิ่งกว่ามีวัตถุมงคลใดๆ ในโลก

   หลวงพ่อคูณท่านเป็นพระเถรานุเถระที่โดงดังมากและไม่ได้โด่งดังในเฉพาะพื้นที่ แต่ท่านเป็นที่รู้จักกันทั่วทั้งประเทศ พูดง่ายๆ ก็คือลูกเล็กเด็กแดงคนที่ไม่เคยสนใจพระเครื่องก็ยังรู้จักท่านเลย เมื่อคนศรัทธาท่านมากแต่พระเครื่องมจำกัด นี่แหละเราจึงควรรีบเก็บสะสมเอาไว้

     เหรียญนั่งพานชนะมาร รุ่นนี้ได้ทำการจัดสร้างและปลุกเสกเป็นพิเศษ ราคายังไม่แรงมากเกินกำลัง หากพบองค์สวยๆแล้ละก็ขอให้รีบๆตะครุบกันเลยทีเดียว พุทธคุณดีเด่นดังรอบด้านครอบจักรวาล รับประกันได้เลยว่ามีเหรียญของหลวงพ่อคูณแล้วอนาคตต่อไปภายภาคหน้าไม่มีคำว่า เจ๊ง
หลวงพ่อพานรุ่นแรก,เหรียญหลวงพ่อพาน

วันอาทิตย์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2556

หลวงพ่อสงฆ์

หลวงพ่อสงฆ์
วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย จังหวัดชุมพร
หลวงพ่อสงฆ์ วัดศาลาลอย,เหรียญหลวงพ่อสงฆ์

    ชุมพร เป็นเมืองเ่ก่าแก่แต่สมัยโบราณเมืองหนึ่งของภาคใต้ ตำนานพระธาตุเมืองนครศรีธรรมราช  พ.ศ. 1098  กล่าวว่าเมืองชุมพรเป็นเมืองหนึ่งในเมืองสิบสองนักษัตรของเมืองนครศรีธรรมราช โดยถือตราแพะ (มะแม) เป็นตราสัญลักษณ์ ประจำเมือง

    พ.ศ.1832 อาณาจักรสุโขทัย แ่ผ่ขยายอำนาจลงมาในแหลมมาลายู มุ่งเข้าตีเมืองศรีธรรมราช ทัพเมืองชุมพรได้ยกสกัดไว้แต่สู้ไม่ได้จึงถูกเผาเมืองและชาวเมืองเป็นจำนวนมากถูกจับตัวไปเป็นเชลย

   พ.ศ.2328  ต้นกรุงรัตนโกสินทร์ช่วงของสงครามเก้าทัพ พม่ายกทัพเขามาตีเมืองระนองและเมืองกระบุรีได้แล้วก็เลยเข้ามาตีเมืองชุมพร โดยยกทับเข้ามาทางบ้านท่าข้ามชาวเมืองออกรบกับพม่าแต่สู้ไม่ได้จึงพากันหลบหนีเข้าไปอยู่ตามป่าเขา พม่าได้พักทัพที่ท่าวังดินแดน ตกค่ำเอาใบตะรังตังช้าง(ต้นไม้ขนาดเล็ก ใบมีพิษถูกผิวหนังทำให้ปวดแสบปวดร้อน) มาปูนอนและเอากิ่งแห้งมาสุมไฟเกิดอาการปวดแสบปวดร้อนพากันหนีลงน้ำ พิษกลับเพิ่มเป็นทวีรูณและเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก จึงพูดกันว่า บ้านนี้อยู่ไม่ได้ เสือก็ร้าย ใบไม้ก็กินคน  หาดท่าดินแดงจึงได้ชื่อว่า  หาดพม่าตาย  ปัจจุบันชาวบ้านเรียกกันว่า  หาดหนองหอย 

   จังหวัดมีพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง ชาวบ้านเรียกกันว่าพ่อปู่หลักเมือง

  พ่อปู่หลักเมืองประดิษฐานในถ้ำรับร่อที่เขาพระตำบลท่าข้าม อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุึมพร เหนือพระเศียรพ่อปู่หลักเมืองมีภาพเขียนเป็นรูปฤาษีอยู่บนเพดานหิน ที่ภาพเขียนนี้มีปริศนาลายแทงบอกไว้ว่า

   " เดินเข้าสามศอก เดินออกสามวา อวยทานมื้อหน้า หัวก๊กหน้าปู่"

    ด้วยปริศนาลายแทงนี้ทำให้มีคนเข้าใจว่าภายใต้พ่อปู่หังเมืองมีสมบัติฝังอยู่ จึงได้มาแอบขุดเจาะใต้อาสนะแต่ขุดไม่เข้าคงทิ้งหิ้นไว้เกลื่อนกลาดตามพื้นถ้ำ


   ใกล้ๆกับถ้ำรับร่อมีถ้ำอ้ายเตย์ อ้ายเตย์เป็นรูปเขียนทับรอยสลักบนก้อนหินในท่านอนแบบใีหไสยาสน์ หันศรีษะไปทางปากถ้ำด้านตะวันตก กล่าวกันว่าอ้ายเตย์เป็นชาวบ้านแถบนั้น ต่อมาได้ทำความผิดคือถูกหาว่ากินคน จึงถูกทำโทษด้วย การล่ามโซ่ขังไว้ในถ้ำจนตายและมีปริศนาลายแทงกล่าวว่า

  "อ้ายเตย์ อ้ายเตย์ เอาลูกใส่แปลเอาตีนคาในน้ำมันสองขวด ค่อยนวดค่อยไปผู้ใดแก้ได้อยู่ใต้อ้ายเตย์"

ใต้รูปอ้ายเตย์จึงมีรอยขุดเป็นหลุมลึกเนื่องจากมีคนมาขุดเพื่อหาทรัพย์สมบัติเ่นกัน

    การที่เชื่อกันว่าวีทรัพย์สมบัติฝังซ่อนอยู่ในถ้ำเหล่านี้ก็กล่าวกันว่าเพราะสมัยก่อนเมืองชุมพรมีศึกบ่อยครั้ง ชาวบ้านจึงพากันเอาทรัพยสมบัติมาฝังซ่อนไว้ตามถ้ำต่างๆ แล้วบอกเป็นปริศนาลายแทงให้คิด อีกกระแสก็มีตำนานเล่าว่าบริเวณนี้ในสมัยโบราณเป็นทะเลเรียกว่าทะเลเซี๊ย ปัจจุบันกลายเป็นดินแต่ก็ยังมีชื่อ  "คลองทะเลเซี๊ย" อยู่

   เล่ากันว่าในสมัยโบราณทะเลเซี๊ยเป็นคลองเชื่อมระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกและและมหาสมุทรอินเดีย โดยไม่ต้องอ้อมแหลมมลายูมีกษัตริย์อินเดีย 2 องค์ แล่นเรือสำเภาจากทะเลจีนจะกลับสู่ประเทศอินเดียพร้อมด้วยทรัพย์สมบัติมหาศาล เมื่อเรือสำเภาแล่นผ่านช่องแคบทะเลเซี๊ยะก็ถูกพายุพัดติดต่อกัน 3 วัน 3 คืน เรือสำเภาจึงต้องจอดหลบพายุอยู่ที่เกาะซึ่งเป็นที่ตั้งของเขาพระในปัจจุบันกษัตริย์อินเดียทั้งสองจึงจึงขึ้นไปสำรวยสถานที่พบเกาะแล้วขนสมบัติไปเก็บซ่อนไว้บนเขาพระ พร้อมกับสร้างพระพุทธรูปปางต่างๆ ขึ้น แล้วทำปริศนาลายแทงไว้ในถ้ำ  เมื่อพายุสงบกษัตริย์ทั้งสองก็แ่ล่นเรือต่อไปออกสู่มหาสมุทรอินเดีย เือสำเภาเกิดไปเกยหินโสโครกจมในทะเล เรือสำเภาทั้งสองลำเลยกลายเป็นหินอยู่เคียงคู่กันระหว่างแดนต่อแดนขอไทยและพม่า เรียกว่าหินตะเภา

   พระเกจิอาจารย์ของจ้งหวัดชุมพรในอดีตเมื่อหลายสิบปีก่อนก็มีอยู่หลายท่านด้วยกัน เช่น หลวงพ่อเลื่อม วัดสามแก้ว หลวงพ่อเปียก วัดนาสร้าง หลวงพ่อทอง วัดดอนสะท้อน หลวงพ่อจีด วัดถ้ำเขาพลู และหลวงพ่อจอน วัดดอนรวบ เป็นต้น โดยเฉพาะท่านหลันนั้น กรมหลวงชุมพร  ทรงนับถือเป็นอาจารย์เลยทีเดียวแต่ถ้าเป็ฯยุคปี พ.ศ. 2500 ที่ดังและคนชุมพรนับถือมากที่สุดก็คือ หลวงพ่อสงฆ์ วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย