สร้างรายได้หลักล้านผ่าน IQ Option

วันอาทิตย์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2562

Thailand 1963 20 Baht

Thailand 1963 20 Baht, Y-86


THAILAND King Rama IX

1963 unknown 1963 THAILAND King Rama IX Crown Scepter Genuine coin Good Uncertified


Additional Product Data

  • Provided with Certificate of Authenticity and Lifetime Guarantee of Authenticity by world - renowned ancient coin & antique expert with years of experience.
  • Item for sale is EXACTLY as PICTURED, with an uniquely numbered Certificate of Authenticity, which includes PICTURE OF ITEM along with valuable historical information.
  • The top quality professional presentation makes this a joy for collecting and a unique gift idea for friends and family. SATISFACTION GUARANTEED - 30 day money back guarantee.
  • Visit http://www.amazon.com/shops/buy-ancient-greek-roman-biblical-coins to view more great items like this.

Old coins thailand 1 Baht 1962


Old coins thailand 1 Baht 1962 coin thai King Rama IX Antiques Collectibles coin Bangkok 2


Additional Product Data

  • Product good quality, Product quality. 100% satisfaction guarantee.
  • Old coins thailand 1 Baht 1962 coin thai King Rama IX.
  • Medal of products are 100% authentic, not copies, not is coin silver.
  • weight product 6.88 - 6.97 g. / Product may differ slightly from the image there.
  • Ship from Thailand by Thailand Post 15 - 25 days.

TH Thailand 25 Satang - 10 Baht


TH Thailand 25 Satang - 10 Baht 6-Coin Set BU Brilliant Uncirculated


Additional Product Data

  • Photos in this listing may or may not be stock photos. The photos are meant to be an indication of the product you will receive.
  • Set Highlights: Six coin set from the Kingdom of Thailand with random date issues.
  • Comes packaged in a protective envelope with a country specific legend.
  • Obverses: Varies by denomination and the date.
  • Reverses: Varies by denomination and the date.

THAILAND THAI 1 SATANG COIN


THAILAND THAI 1 SATANG COIN,KING RAMA VIII 2485 (1942)


วันพฤหัสบดีที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2559

เหรียญพญาเต่าเรือน หลวงปู่หลิว รุ่นแรก วัดไร่แตงทอง นครปฐม


เหรียญพญาเต่าเรือน หลวงปู่หลิว รุ่นแรก วัดไร่แตงทอง นครปฐม



เหรียญพญาเต่าเรือน หลวงปู่หลิว รุ่นแรก วัดไร่แตงทอง นครปฐม
หลวงปู่หลิว ปณณโก มีนามเดิมว่า หลิว แซ่ตั้ง (นามถาวร)
บิดามีนามว่า เต่ง มารดามีนามว่า น้อย ท่านเกิดเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ.2448  ที่หมู่บ้านหนองอ้อ ต.บ้านสิงห์ อ.โพธาราม จ.ราชบุรี มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันทั้งหมด 9 คน ท่านเป็นบุตรคนที่ 3 ของครอบครัว
   ครอบครัวอยู่ในชนบทห่างไกลความเจริญมีอาชีพหลักคือทำนา เด็กชายหลิวได้ช่วยงานบิดา มารดา และพี่ๆ อย่างขยันขันแข็งจนเป็นที่ยอมรับของชาวบ้านทั่วไป บางครั้งท่านต้องไปรับจ้างคนอื่นเพื่อให้ได้เงินมา ท่านต้องเดินทางไกลเพื่อไปทำงานบางครั้งไปกลับใช้ระยะทางประมาณ 20 กิโลเมตร เมื่อเติมใหญ่หลวงปู่หลิวจึงมีฝีมือทางช่างไม้
     นอกจากนี้แล้วท่านยังเป็นหมอยาสมุนไพรประจำหมู่บ้านอีกด้วย และบางครังบางคราทรัพย์สินที่หามาได้ก็ถูกคนรังแกเอาไปโดยโจรผู้ร้าย
   นายหลิวได้ออกจากบ้านไปแสวงหาอาจารย์ผูมีวิชาอาคมเพื่อขอเรียนวิชาไสยศาสตร์จะได้นำมาปราบโจรผู้ร้าย หลวงปูหลิวโชคดีได้พบอาจารย์หม่งจอมขมังเวทย์ชาวกระเหรี่ยงจึงได้ขอฝากตัว หลงปู่หลิวอยู่กับอาจารย์ชาวกระเหรี่ยงได้ 3ปีกว่าจนถึงวัย 21 ปี ก็ศึกษาวิชาอาคมได้อย่างลึกซึ้ง ก่อนจะเดินทางกลับผู้เป็นอาจารย์ได้กำชับอย่างเด็ดขาดว่าวิชาอาคมต่างๆ ทีประสิทธิ์ประสาทให้ ห้มใช้จนกว่าจะถูกผู้อื่นทำรังแก และต่อมาท่านก็ได้กำราบพวกดจรร้ายจนหมดสิ้น
   ต่อมานายหลิวก็ได้ใช้ชีวิตอยู่กันางหยด และเริ่มเบื่อหน่ายสังคมทีละน้อยๆ จนกระทั่งมีอายุได้ประมาณ 27 ปีก็เกิดความเบื่อหน่ายสุดขีดในชีวิตของฆราวาส ดังนั้นจึงตัดสินใจเข้าสู่ร่มกาสวพัสตร์
  หลวงปู่หลิวได้เข้าพรรพชาอุปสมบท ณ พัทธสีมาพระอุโบสถวัดโบสถ์ ต.บ้านเลือก อ.โพธาราม จ.ราชบุรี โดยมีหลวงพ่อดพธาภิรมย์เป็นประอุปัชฌาย์  หลวงพ่ออินทร์ วัดโบสถ์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์และมีพระอาจารย์ห่อ วัดโบสถ์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า ปณณโก  และได้กลับมาจำพรรษา ณวัดหนองอ้อ ซึ่งเป็นวัดประจำหมู่บ้าน เพื่อเล่าเรียนทางพระปริยัติธรรมและปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานควบคู่กันไป
     พ.ศ.2482 ได้บรูณะ วัดท่าเสา จ.สุพรรณบุรี
พ.ศ.2484 ท่าได้ไปจำพรรษา ณวัดสนามแย้ จ.กาญจนบุรี ท่านได้บูรณะสิ่งต่างๆ มากมายไม่ว่า กุฏิ วิหาร ศาลาการเปรียญ และโบสถ์  จนมีความเจริญรุ่งเรือง จนเป็นที่รู้จักกันดีของประชาชนทั่วไป ท่านอยู่วัดสนามแย้แห่งนี้เป็นเวลายาวนานถึง 36 ปี
  พ.ศ. 2520 สร้างวัดไทรทองที่ ต.จรเข้เผือก อ.ด่านมะขามเตี้ย จ.กาจนบุรี
  พ.ศ. 2525 สร้างวัดไร่แตงทองที่ ต.ทุงลูกนก อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม และได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดไร่แตงทอง เมื่อวันที่7 มิถุนายน พ.ศ.2535
  เมื่อหลวงปู่หลิวได้พัฒนาวัดไร่แตงทองแล้วได้ย้ายกลับมาจำพรรษายังวัดหนองอ้อ องโพะาราม จ.ราชบุรี  อันเป็นวัดบ้านเกิด อีกครั้งหนึ่ง เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2540 ท่านกลับมาจำพรรษาในฐานะพระลูกวัดองค์หนึ่งเท่านั้น และในวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2543 หลวงปู่หลิวได้ละสังขารอย่างสงบท่ามกลางลูหลานที่คอยมาดูใจเป็นคั้งสุดท้ายที่กุฏิของท่าน สิริรวมอาจั 95 พรรษา 74
   เหรียญพญาเต่าเรือน เป็นเหรียญดีเหรียญดังที่สร้างชื่อเสียงโดงดังขจรขจาย เป็นอย่างยิ่ง หากอยากเก็บเหรียญเต่าต้องคิถึงเหรียญเต่าของหลวงพ่อหลิวเป็นสิ่งแรกเลย ราคาเช่าหาอยู่ที่หลักหมื่นกลางๆ แต่ขอให้เก็บเหรียญสวยๆ นะ ใครๆ ก็อยากได้เหรียญเต่าของหลวงพ่อหลิวกันทั้งนั้น ไปที่ไหนใครเขาก็รู้จักจ้า



วันอังคารที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2557

เบี้ยแก้

 ”http://smallseotools.com/google-pagerank-checker”
รวมพระเหรียญนิยม,พระเหรียญยอดนิยม,ราคา พระเครื่อง ปัจจุบัน


เบี้ยแก้หลวงปู่บุญ


เบี้ยแก้หลวงปู่เจือ เบี้ยแก้ หลวง ปู่ เจือ วัดกลาง บางแก้ว

เบี้ยแก้หลวงปู่รอด(เบียแก้)



เบี้ยแก้หลวงพ่อเปิ่น
เบี้ยแก้ วัดกลางบางแก้ว
เก่า-หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว นครปฐม,หลวงปู่รอด วัดนามโรง กทม.
ใหม่ -หลวงปู่หมุน วัดบ้านจาน ศรีสะเกษ

    พุทธคุณ "กันคุณไสย"เครื่องราง เบี้ยแก้

เบี้ยแก้ เครื่องรางยอดนิยมใช้ดีทางเมตตามหานิยม แคล้วคลาดคงกระพันชาตรี  มีไว้ป้องกันสรรพอันตราย และยังมีความหมายถึงวัตถุ เครื่องป้องกันแก้การกระทำคุณไสย ตลอดจนยาสั่งและไข้ป่า เป็นอินธิวัตถุ มีลักษณะท้าทายอย่างเปิดเผยต่อการปล่อยคุณไสยและการกระทำย่ำยีในฝ่ายไสยทั้งปวง

   ตำนานความเป็นมาของอิทธิวัตถุที่เรียกว่าเบี้ยแก้ มีพื้นฐานลึกซึ้งพอสมควร ชาวไทยมีความนับถือเบี้ยหรือจั่นมาแต่ครั้งกาลนาน คนไทยโบราณนับถือเบี้ยว่าเป็นเครื่องหมายของเทพเจ้า

   นิยมห้อยคอเด็ก เป็นมงคลวัตถุเครื่องรางสืบต่อกันมา ที่สำคัญไทยเราใช้เบี้ยหรือจั่นเป็นเงินตราอีกด้วย

  เบี้ยจั่นตัวเล็กๆ ที่ไทยเราใช้แทนเงินตราสมัยก่อน ส่วนมากมาจากเกาะมัลคิวะ ซึ่งเป็นเกาะในมหาสมุทรอินเดีย ถัดจากเกาะลังกาไปทางตะวันตก สมัยโบราณปรากฏว่าแคว้นองคราษฎร์ไปแลกเบี้ยจากชาวเกาะสำหรับมาใช้เป็นเงินในแค้วน
    การใช้เบี้ยต่างเิงินต่างตราของไทยในสมัยโบราณ จึงอาจเป็นประเพณีมาจากแค้วนองคราษฎร์ มีข้อถืออันหนึ่งที่พอจะนับว่าเป็นเครื่องสนับสนุนการสันนิษฐานนี้ก็คือ ความคล้ายคลึงกันในเรื่องนับถือเบี้ย
     ชาวองคราษฎร์ถือว่าเบี้นนั้นเป็นพระลักษมี เขาบูชาเบี้ยด้วย ส่วนคนไทยโบราณก็นับถือเบี้ยคล้าวเทวาองค์หนึ่ง ตามปกติมักเอาเบี้ยมาห้อยคอเด็ก นับถือเบี้ยคล้ายเทวาองค์หนึ่งตามปกติมักเอาเบี้ยมาห้อยคอเด็กนับถือว่าเป็นเครื่องรางอันหนึ่งในทางโชคลาภและคุ้มสรรพอันตรายต่างๆ

   ในวรรณคดีเก่าของไทยกล่าวถึงการบนเบี้ย อันเป็นการแสดงว่าไทยนับถือเบี้ยเป็นเทวดาอันศกดิ์สิทธิ์เช่นในเรื่องขุนช้างขุนแผน ตอนนางเทพทองจะคลอดขุนช้าง มีกลอนว่า "บ้างก็เสกมงคลปรายข้าวสาร เอาเบี้ยบนลนลานเหน็บฝาเกลื่อน" และในเรื่องอิเหนา ตอนอิเหนาลอบไปหาจินตะหรา ก็มีคำประสันตาว่า "จะแต่งเครื่องสังเวยให้มากมาย ข้าจะกินถนายเทวัญ ว่าพลางทางแกว่งเบี้ยบน ทำตามเล่ห์กลคนขยัน"
    การนับถือเบี้ยเป็นของศักดิ์สิทธิ์เชื่อว่าไทยถือตามพราหมณ์องค์ราษฎร์ หลักฐานกฎหมายโบราณแสดงถึงความนิยม นับถือเบี้ยจั่นของไทยโบราณว่าเป็นสัญลักษณ์ของพระลักษมีนั้น มีปรากฏในกฏหมายโบราณใช้คำเรียกเบี้ยจั่นว่าภควจั่น จำหลักประดับพลอยแดงเขียวเ่ท่านั้น อย่าได้ประดับเพชรถมยาราชาวดี ลูกประหล่ำเล่าก็ให้ใส่แต่ลายแทงแลเกลี้ยงเกี้ยว อย่าให้มีกระจังประจำยามสี่ทิศ แลอย่าให้ใส่กระจับปิ้งพริกเทศทองคำกำไลทองใส่เท้า และห้ามอย่าให้ช่างหล่อทั้งปวงรับจ้างทำจี้เสมาภคจั่น

   ประดับเพชรถมยาราชาวดีและกระจับปิ้ง พริกเทศทองคำ กำไลเท้าและแหวนถมยาราชาวดีประดับพลอย ห้ามมิให้ซื้อขายเป็นอันขาดทีเดียว ถ้าข้าราชการผู้น้อยและอาณาประชาราษฎร์ช่างทองกระทำให้ผิดถ้อยอย่างธรรมเนียมแต่ก่อน จะเป็นโทษอย่างหนัก

   คำว่า "ภควจั่น" แยกออกเป็นสองคำคือ ภคว เป็นคำย่อของภควดี อันเป็นสมญานามของพระลักษมี
และจั่น เป็นคำสามัญ หมายถึงเบี้ยจั่น อันเป็นเครื่องหมายของพระลักษมี
    วิธีการสร้างเบี้ยแก้ คือหารบรรจุปรอทที่ปลุกเสกแล้วเข้าไปในตัวเบี้ยจั่นแล้วหาวิธีอุดเอาไว้ไม่ให้ปรอทหนีออกมาข้างนอกได้ ฉะนั้นเกี่ยวกับการใช้ปรอทสร้างเบี้ยแก้ จึงมีลักษณะตรงกันข้ามกับการทำลูกอมปรอท ลูกสะกดปรอท พระปรอท และเมฆสิทธิ์ลักษณะต่างๆ เพราะอิทธิวัตถุ เหล่านี้ใช้ปรอทแข็ง
ซึ่งเป็นปรอทผสมกับโลหะต่างๆ เช่น ทองแดง เงิน และทองคำ เป็นต้น

     บางทีเรียกว่า "ปรอทที่ฆ่าตายแล้ว" ซึ่งจะมีความหมายลึกซึ้งประการใด ยังไม่ทราบแน่ชัดนัก
  ส่วนปรอทที่ใช้ยรรจุในตัวเบี้ยจั่นนั้น เป็นปรอทเป็นหรือปรอทดิน เวลาเขย่าเบี้ยใกล้ๆหู จะได้ยินเสียงปรอทกระฉอกไปมา เสียงดัง ขลุกๆ ซึ่งเรียกว่า เสียงขลุก ของปรอท ดังชัดบ้างไม่ชัดบ้าง ขึ้นอยู่กับปริมาณปรอทที่บรรจุปริมาตรของโพรงในท้องเบี้ย และอุณหภูมิฤดูกาล ในขณะนั้นๆ
   ถ้าหากการสร้างเบี้ยแก้กระทำในฤดูร้อยบรรจุปรอทมากจนเต็มปริมาตร และเขย่าฟังเสียงในอากาศร้อนๆ จะฟังเสียงไม่ค่อยได้ยินเลย แต่เบี้ยแก้ตัวเดียวกัน ลองเขย่าฟังเสียงในอากาศร้อนๆ จะฟังเสียงไม่ค่อยได้ยินเลยแต่เบี้ยแก้ตัวเดียวกัน ลองเขย่าในฤดูหนาวที่อากาศเย็นๆ จะได้ยินเสียงชัดเจนขึ้น
    เวลานำปรอทที่ปลุกเสกแล้วกรอกลงไปในท้องเบี้ยจั่นพอประมาณเอาชันโรงใต้ดินที่ปลุกเสกแล้วอุดยาบริเวณปากร่องใต้ท้องเบี้ยให้สนิท เรียบร้อย แล้วจึงหุเมด้วยผ้าแดงที่ลงอัขระเลขยันต์และปลุกเสก เสร็จแล้วจึงเอาด้ายถักหุ้มเป็นลวดทองแดงขดเป็นห่วง เพื่อให้ใช้คล้องสร้อยแขวนคอ หรือทำเป็นสองห่วงไฝ้ใต้ท้องเบี้ยแก้เพื่อร้อยเชือกคาดเอว

   สำหรับเบี้ยแก้รุ่นเก่าที่โดงดังในขณะนี้ จับตามองไปที่เบี้ยแก้หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว นครปฐม และหลวงปู่รอด วักนายโรง กทม. มีลักษณะ การถักด้ายหั้มด้านนอก ถ้าเป็นเบี้ยแก้ของหลวงปู่บุญ มีการถักด้ายหุ้มตลอดตัวเบี้ยและเป็นลายถักเรียบๆ สม่ำเสมอกันตลอดตัวเบี้ย

   ส่วนเบี้ยแก้หลวงปู่รอดจะปรากฏทั้งแบบที่ถักด้ายหุ้มตลดอตัวเบี้ย กับถักวงกลมไว้บริเวณกลางหลังเบี้ย และลายถักด้ายหุ้มตลอดตัวเบี้ย กับถักเว้นวงกลมไว้บริเวณกลางหลังเบี้ย และลายถักนี้มีทั้งแบบลายเรียบสม่ำเสมอกันแบบลานสอง (เป็นเส้นสันทิวขนานคู่แบบผ้าลายสอง)  แต่ข้อสังเกตนี้จะถือเป็นกรณีแน่ชัดตายตัวไม่ได้ เพราะคาดว่าลักษณะการถักดังกล่าวคงจะมีปะปนกันทั้งสองสำหนัก

  เสียง"ขลุก" ของปรอท จาการสังเกตในขณะเขย่าเบี้ยแก้ที่ริมหู จะได้ยินเสียงการกระฉอกไปมาของปรอทภายในท้องเบี้ย สำหรับของจริงของสองสำนักดังกล่าวนี้จะมี เสียงขลุก คล้ายคลึงกัน กล่าวคือจะมีลักษณะเป็นเสียงกระฉอกของปรอทซึ่งสะท้อนไปสะท้อนมาหลายทอดหรือหลายจังหวะ ชะรอยการบรรจุปรอทลงในเบี้ยแก้จะต้องมีเทคนิคหรือกรรมวิธีที่แยบคายบางประการเช่นบรรจุปรอทในปริมาณที่พอดีกับปริมาตรภายในท้องเบี้ย กล่าวคือให้เหลือช่องว่างไวัพอสมควรให้ปรอทได้มีโอกาศกระฉอกไปมาได้สะดวก และน่าจะเป็นการบรรจุปรอทในฤดูร้อนตอนกลางวันเพราะอุณหภูมิในห้วงเวลานั้นๆ ปรอทจะมีสภาพขยายตัวมากเมื่อได้รับการบรรจุแล้ว ปรอทก็จะลดตัวลงตามฤดูกาลทำให้เกิดช่องว่างภายในท้องเบี้ยเพิ่มขึ้นสะดวกแก่การกระฉอก
   เบี้ยแ้บางตัวจะมีทั้งเสียงขลุกไพเราะมาก เป็นเสียงขลุกที่มีหลายจังหวะ หลายแบบ มีทั้งเสียงหนักและเบาสลับกัน อุปมาเสมือนนักร้องที่มีลูกคอหลายชั้น หรือนกเขาเสียงคู่เสียงเอกที่มีลูกเล่นหลายชั้น ส่วนเบี้ยแก้บางตัวที่บรรจุปรอทน้อยเกินไป การกระฉอกของปรอทคล่องแคล่วดี แต่เสียงขลุกขาดความหนักแน่น ตรงกันข้ามกับเบี้ยแก้บางตัวบรรจุปรอทมากเกินไป การกระฉอกหรือคลอนจึงมีน้อยจนเกือบสังเกตุไม่ได้
   เบี้ยแก้รุ่นเก่าที่โด่งดังยังมีของสำนักอื่นๆ อีก เช่น เบี้ยแก้วัดคฤหบดี วัดอยู่ในคลองบางกอกน้อยเช่นเดียวกันกับวัดนายโรง แต่ยังสืบทราบความเป็นมาของการสร้างเบี้ยแก้ได้ไม่ชัดเจน นัยว่าหลวงพ่อผู้สร้างเบี้ยแก้เป็นศิษย์หลวงปู่รอด วัดนายโรงนั่งเอง
  เบี้ยแก้ของวัดคฤหบดีจัดว่าเป็นเบี้ยแก้รุ่นเก่า รองลงมาจากของสำนักดังกล่าว ลักษณะของเบี้ยแก้วัดคฤหบดีนั้น เท่าที่ทราบและพิจารณาของจริงมาบ้างนั้น เข้าใจว่าสัณฐานของตัวเบี้ยค่อนข้างจะเบากว่าองวัดกลางและของวัดนายโรงสักเล็กน้อย
   แต่ถ้าค่อนข้างหยาบกว่าของวัดนายโรงและมีทั้งลงรักปิดทองและลงยางมะพลับ(สีน้ำตาลไหม้คล้ำ) ลักษณะการถักหุ้มคงมี 2  แบบคือ แบบถักหุ้มทั้งตัวเบี้ย กับแบบถักเหลือเนื้อที่เป็นวงกลมไว้หลังเบี้ย และเสียง ขลุก ของปรอทมีจังหวะและนั้หนักของเสียงน้อยกว่าของสองสำหนัก
   นอกจากนี้ที่อ่างทองยังมีเบี้ยแก้อีกสามสำนักด้วยกันคือ เบี้ยแก้วัดนางใน วัดโพธิ์ปล้ำ และวัดท่าช้าง
   เบี้ยแก้เป็นอิธิวัตถุชั้นหนึ่ง เดตือนใจให้สะดุ้งกลัวภัยที่มองไม่เห็นตัว หางบุคคลใดมีไว้เป็นสมบัตินำติดตัวโดยคาดไว้กับเอวหรือโดยประการอื่นใด ย่องปกป้องภยันตรายได้ที้งปวงได้ดีนักแล
   พุทธคุณ เบี้ยแก้หลวงปู่บุญ หลวงปู๋รอด เด่นทางเมตตามหานิยม คงกระพันทุกประการ คุ้มกันเสนียดจัดไร คุณไสยยาสั่งและการกระทำย่ำยีทั้งหลายทั้งปวงได้ดีนักแล

  พุทธคุณเบี้ยแก้หลวงปู่บุญ หลวงปู่รอด เด่อนทางเมตตามหานิยมคงกระพัน ป้องกันอันตราย แก้คุณไสย ยาสั่ง ไข้ป่า ดีนักแล