สร้างรายได้หลักล้านผ่าน IQ Option

วันอังคารที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2557

เบี้ยแก้

 ”http://smallseotools.com/google-pagerank-checker”
รวมพระเหรียญนิยม,พระเหรียญยอดนิยม,ราคา พระเครื่อง ปัจจุบัน


เบี้ยแก้หลวงปู่บุญ


เบี้ยแก้หลวงปู่เจือ เบี้ยแก้ หลวง ปู่ เจือ วัดกลาง บางแก้ว

เบี้ยแก้หลวงปู่รอด(เบียแก้)



เบี้ยแก้หลวงพ่อเปิ่น
เบี้ยแก้ วัดกลางบางแก้ว
เก่า-หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว นครปฐม,หลวงปู่รอด วัดนามโรง กทม.
ใหม่ -หลวงปู่หมุน วัดบ้านจาน ศรีสะเกษ

    พุทธคุณ "กันคุณไสย"เครื่องราง เบี้ยแก้

เบี้ยแก้ เครื่องรางยอดนิยมใช้ดีทางเมตตามหานิยม แคล้วคลาดคงกระพันชาตรี  มีไว้ป้องกันสรรพอันตราย และยังมีความหมายถึงวัตถุ เครื่องป้องกันแก้การกระทำคุณไสย ตลอดจนยาสั่งและไข้ป่า เป็นอินธิวัตถุ มีลักษณะท้าทายอย่างเปิดเผยต่อการปล่อยคุณไสยและการกระทำย่ำยีในฝ่ายไสยทั้งปวง

   ตำนานความเป็นมาของอิทธิวัตถุที่เรียกว่าเบี้ยแก้ มีพื้นฐานลึกซึ้งพอสมควร ชาวไทยมีความนับถือเบี้ยหรือจั่นมาแต่ครั้งกาลนาน คนไทยโบราณนับถือเบี้ยว่าเป็นเครื่องหมายของเทพเจ้า

   นิยมห้อยคอเด็ก เป็นมงคลวัตถุเครื่องรางสืบต่อกันมา ที่สำคัญไทยเราใช้เบี้ยหรือจั่นเป็นเงินตราอีกด้วย

  เบี้ยจั่นตัวเล็กๆ ที่ไทยเราใช้แทนเงินตราสมัยก่อน ส่วนมากมาจากเกาะมัลคิวะ ซึ่งเป็นเกาะในมหาสมุทรอินเดีย ถัดจากเกาะลังกาไปทางตะวันตก สมัยโบราณปรากฏว่าแคว้นองคราษฎร์ไปแลกเบี้ยจากชาวเกาะสำหรับมาใช้เป็นเงินในแค้วน
    การใช้เบี้ยต่างเิงินต่างตราของไทยในสมัยโบราณ จึงอาจเป็นประเพณีมาจากแค้วนองคราษฎร์ มีข้อถืออันหนึ่งที่พอจะนับว่าเป็นเครื่องสนับสนุนการสันนิษฐานนี้ก็คือ ความคล้ายคลึงกันในเรื่องนับถือเบี้ย
     ชาวองคราษฎร์ถือว่าเบี้นนั้นเป็นพระลักษมี เขาบูชาเบี้ยด้วย ส่วนคนไทยโบราณก็นับถือเบี้ยคล้าวเทวาองค์หนึ่ง ตามปกติมักเอาเบี้ยมาห้อยคอเด็ก นับถือเบี้ยคล้ายเทวาองค์หนึ่งตามปกติมักเอาเบี้ยมาห้อยคอเด็กนับถือว่าเป็นเครื่องรางอันหนึ่งในทางโชคลาภและคุ้มสรรพอันตรายต่างๆ

   ในวรรณคดีเก่าของไทยกล่าวถึงการบนเบี้ย อันเป็นการแสดงว่าไทยนับถือเบี้ยเป็นเทวดาอันศกดิ์สิทธิ์เช่นในเรื่องขุนช้างขุนแผน ตอนนางเทพทองจะคลอดขุนช้าง มีกลอนว่า "บ้างก็เสกมงคลปรายข้าวสาร เอาเบี้ยบนลนลานเหน็บฝาเกลื่อน" และในเรื่องอิเหนา ตอนอิเหนาลอบไปหาจินตะหรา ก็มีคำประสันตาว่า "จะแต่งเครื่องสังเวยให้มากมาย ข้าจะกินถนายเทวัญ ว่าพลางทางแกว่งเบี้ยบน ทำตามเล่ห์กลคนขยัน"
    การนับถือเบี้ยเป็นของศักดิ์สิทธิ์เชื่อว่าไทยถือตามพราหมณ์องค์ราษฎร์ หลักฐานกฎหมายโบราณแสดงถึงความนิยม นับถือเบี้ยจั่นของไทยโบราณว่าเป็นสัญลักษณ์ของพระลักษมีนั้น มีปรากฏในกฏหมายโบราณใช้คำเรียกเบี้ยจั่นว่าภควจั่น จำหลักประดับพลอยแดงเขียวเ่ท่านั้น อย่าได้ประดับเพชรถมยาราชาวดี ลูกประหล่ำเล่าก็ให้ใส่แต่ลายแทงแลเกลี้ยงเกี้ยว อย่าให้มีกระจังประจำยามสี่ทิศ แลอย่าให้ใส่กระจับปิ้งพริกเทศทองคำกำไลทองใส่เท้า และห้ามอย่าให้ช่างหล่อทั้งปวงรับจ้างทำจี้เสมาภคจั่น

   ประดับเพชรถมยาราชาวดีและกระจับปิ้ง พริกเทศทองคำ กำไลเท้าและแหวนถมยาราชาวดีประดับพลอย ห้ามมิให้ซื้อขายเป็นอันขาดทีเดียว ถ้าข้าราชการผู้น้อยและอาณาประชาราษฎร์ช่างทองกระทำให้ผิดถ้อยอย่างธรรมเนียมแต่ก่อน จะเป็นโทษอย่างหนัก

   คำว่า "ภควจั่น" แยกออกเป็นสองคำคือ ภคว เป็นคำย่อของภควดี อันเป็นสมญานามของพระลักษมี
และจั่น เป็นคำสามัญ หมายถึงเบี้ยจั่น อันเป็นเครื่องหมายของพระลักษมี
    วิธีการสร้างเบี้ยแก้ คือหารบรรจุปรอทที่ปลุกเสกแล้วเข้าไปในตัวเบี้ยจั่นแล้วหาวิธีอุดเอาไว้ไม่ให้ปรอทหนีออกมาข้างนอกได้ ฉะนั้นเกี่ยวกับการใช้ปรอทสร้างเบี้ยแก้ จึงมีลักษณะตรงกันข้ามกับการทำลูกอมปรอท ลูกสะกดปรอท พระปรอท และเมฆสิทธิ์ลักษณะต่างๆ เพราะอิทธิวัตถุ เหล่านี้ใช้ปรอทแข็ง
ซึ่งเป็นปรอทผสมกับโลหะต่างๆ เช่น ทองแดง เงิน และทองคำ เป็นต้น

     บางทีเรียกว่า "ปรอทที่ฆ่าตายแล้ว" ซึ่งจะมีความหมายลึกซึ้งประการใด ยังไม่ทราบแน่ชัดนัก
  ส่วนปรอทที่ใช้ยรรจุในตัวเบี้ยจั่นนั้น เป็นปรอทเป็นหรือปรอทดิน เวลาเขย่าเบี้ยใกล้ๆหู จะได้ยินเสียงปรอทกระฉอกไปมา เสียงดัง ขลุกๆ ซึ่งเรียกว่า เสียงขลุก ของปรอท ดังชัดบ้างไม่ชัดบ้าง ขึ้นอยู่กับปริมาณปรอทที่บรรจุปริมาตรของโพรงในท้องเบี้ย และอุณหภูมิฤดูกาล ในขณะนั้นๆ
   ถ้าหากการสร้างเบี้ยแก้กระทำในฤดูร้อยบรรจุปรอทมากจนเต็มปริมาตร และเขย่าฟังเสียงในอากาศร้อนๆ จะฟังเสียงไม่ค่อยได้ยินเลย แต่เบี้ยแก้ตัวเดียวกัน ลองเขย่าฟังเสียงในอากาศร้อนๆ จะฟังเสียงไม่ค่อยได้ยินเลยแต่เบี้ยแก้ตัวเดียวกัน ลองเขย่าในฤดูหนาวที่อากาศเย็นๆ จะได้ยินเสียงชัดเจนขึ้น
    เวลานำปรอทที่ปลุกเสกแล้วกรอกลงไปในท้องเบี้ยจั่นพอประมาณเอาชันโรงใต้ดินที่ปลุกเสกแล้วอุดยาบริเวณปากร่องใต้ท้องเบี้ยให้สนิท เรียบร้อย แล้วจึงหุเมด้วยผ้าแดงที่ลงอัขระเลขยันต์และปลุกเสก เสร็จแล้วจึงเอาด้ายถักหุ้มเป็นลวดทองแดงขดเป็นห่วง เพื่อให้ใช้คล้องสร้อยแขวนคอ หรือทำเป็นสองห่วงไฝ้ใต้ท้องเบี้ยแก้เพื่อร้อยเชือกคาดเอว

   สำหรับเบี้ยแก้รุ่นเก่าที่โดงดังในขณะนี้ จับตามองไปที่เบี้ยแก้หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว นครปฐม และหลวงปู่รอด วักนายโรง กทม. มีลักษณะ การถักด้ายหั้มด้านนอก ถ้าเป็นเบี้ยแก้ของหลวงปู่บุญ มีการถักด้ายหุ้มตลอดตัวเบี้ยและเป็นลายถักเรียบๆ สม่ำเสมอกันตลอดตัวเบี้ย

   ส่วนเบี้ยแก้หลวงปู่รอดจะปรากฏทั้งแบบที่ถักด้ายหุ้มตลดอตัวเบี้ย กับถักวงกลมไว้บริเวณกลางหลังเบี้ย และลายถักด้ายหุ้มตลอดตัวเบี้ย กับถักเว้นวงกลมไว้บริเวณกลางหลังเบี้ย และลายถักนี้มีทั้งแบบลายเรียบสม่ำเสมอกันแบบลานสอง (เป็นเส้นสันทิวขนานคู่แบบผ้าลายสอง)  แต่ข้อสังเกตนี้จะถือเป็นกรณีแน่ชัดตายตัวไม่ได้ เพราะคาดว่าลักษณะการถักดังกล่าวคงจะมีปะปนกันทั้งสองสำหนัก

  เสียง"ขลุก" ของปรอท จาการสังเกตในขณะเขย่าเบี้ยแก้ที่ริมหู จะได้ยินเสียงการกระฉอกไปมาของปรอทภายในท้องเบี้ย สำหรับของจริงของสองสำนักดังกล่าวนี้จะมี เสียงขลุก คล้ายคลึงกัน กล่าวคือจะมีลักษณะเป็นเสียงกระฉอกของปรอทซึ่งสะท้อนไปสะท้อนมาหลายทอดหรือหลายจังหวะ ชะรอยการบรรจุปรอทลงในเบี้ยแก้จะต้องมีเทคนิคหรือกรรมวิธีที่แยบคายบางประการเช่นบรรจุปรอทในปริมาณที่พอดีกับปริมาตรภายในท้องเบี้ย กล่าวคือให้เหลือช่องว่างไวัพอสมควรให้ปรอทได้มีโอกาศกระฉอกไปมาได้สะดวก และน่าจะเป็นการบรรจุปรอทในฤดูร้อนตอนกลางวันเพราะอุณหภูมิในห้วงเวลานั้นๆ ปรอทจะมีสภาพขยายตัวมากเมื่อได้รับการบรรจุแล้ว ปรอทก็จะลดตัวลงตามฤดูกาลทำให้เกิดช่องว่างภายในท้องเบี้ยเพิ่มขึ้นสะดวกแก่การกระฉอก
   เบี้ยแ้บางตัวจะมีทั้งเสียงขลุกไพเราะมาก เป็นเสียงขลุกที่มีหลายจังหวะ หลายแบบ มีทั้งเสียงหนักและเบาสลับกัน อุปมาเสมือนนักร้องที่มีลูกคอหลายชั้น หรือนกเขาเสียงคู่เสียงเอกที่มีลูกเล่นหลายชั้น ส่วนเบี้ยแก้บางตัวที่บรรจุปรอทน้อยเกินไป การกระฉอกของปรอทคล่องแคล่วดี แต่เสียงขลุกขาดความหนักแน่น ตรงกันข้ามกับเบี้ยแก้บางตัวบรรจุปรอทมากเกินไป การกระฉอกหรือคลอนจึงมีน้อยจนเกือบสังเกตุไม่ได้
   เบี้ยแก้รุ่นเก่าที่โด่งดังยังมีของสำนักอื่นๆ อีก เช่น เบี้ยแก้วัดคฤหบดี วัดอยู่ในคลองบางกอกน้อยเช่นเดียวกันกับวัดนายโรง แต่ยังสืบทราบความเป็นมาของการสร้างเบี้ยแก้ได้ไม่ชัดเจน นัยว่าหลวงพ่อผู้สร้างเบี้ยแก้เป็นศิษย์หลวงปู่รอด วัดนายโรงนั่งเอง
  เบี้ยแก้ของวัดคฤหบดีจัดว่าเป็นเบี้ยแก้รุ่นเก่า รองลงมาจากของสำนักดังกล่าว ลักษณะของเบี้ยแก้วัดคฤหบดีนั้น เท่าที่ทราบและพิจารณาของจริงมาบ้างนั้น เข้าใจว่าสัณฐานของตัวเบี้ยค่อนข้างจะเบากว่าองวัดกลางและของวัดนายโรงสักเล็กน้อย
   แต่ถ้าค่อนข้างหยาบกว่าของวัดนายโรงและมีทั้งลงรักปิดทองและลงยางมะพลับ(สีน้ำตาลไหม้คล้ำ) ลักษณะการถักหุ้มคงมี 2  แบบคือ แบบถักหุ้มทั้งตัวเบี้ย กับแบบถักเหลือเนื้อที่เป็นวงกลมไว้หลังเบี้ย และเสียง ขลุก ของปรอทมีจังหวะและนั้หนักของเสียงน้อยกว่าของสองสำหนัก
   นอกจากนี้ที่อ่างทองยังมีเบี้ยแก้อีกสามสำนักด้วยกันคือ เบี้ยแก้วัดนางใน วัดโพธิ์ปล้ำ และวัดท่าช้าง
   เบี้ยแก้เป็นอิธิวัตถุชั้นหนึ่ง เดตือนใจให้สะดุ้งกลัวภัยที่มองไม่เห็นตัว หางบุคคลใดมีไว้เป็นสมบัตินำติดตัวโดยคาดไว้กับเอวหรือโดยประการอื่นใด ย่องปกป้องภยันตรายได้ที้งปวงได้ดีนักแล
   พุทธคุณ เบี้ยแก้หลวงปู่บุญ หลวงปู๋รอด เด่นทางเมตตามหานิยม คงกระพันทุกประการ คุ้มกันเสนียดจัดไร คุณไสยยาสั่งและการกระทำย่ำยีทั้งหลายทั้งปวงได้ดีนักแล

  พุทธคุณเบี้ยแก้หลวงปู่บุญ หลวงปู่รอด เด่อนทางเมตตามหานิยมคงกระพัน ป้องกันอันตราย แก้คุณไสย ยาสั่ง ไข้ป่า ดีนักแล


 



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น