สร้างรายได้หลักล้านผ่าน IQ Option

วันศุกร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

เหรียญนาคปรกจเร



เหรียญนาคปรกจเร 
เจัาคุณนรรัตฯ กรุงเทพฯ,เหรียญนาคปรกจเร 
เหรียญพระนาคปรก

" เจ้าคุณนรรัตน์ราชมานิต" ท่านเกิดวันเสาร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2440 ขึ้น 15 คำเดือน 3 ปีระกา ตรงกับวันมาฆะบูชา ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรีท่านเป็ฯบุตรชาคนหัวปีของพระนรราชภักดี (ตรอง  จินตยานนท์) นายอำเภอบางปลาม้า สุพรรณบุรี และนางนรราชภักดี (พุก  จิตยานนท์) และได้ให้ชื่อท่านว่า  "ตรึก" 

        เมื่อถึงวัยสมควรเล่าเรียนหนังสือก็ได้เข้าเรียนที่โรงเรียนในพระนคร   วันหนึ่งได้มีงานเลี้วยเป็นพิธีในพระบรมมหาราชวังซึ่งเป็นงานใหญ่ที่จำนวนมหาดเล็กเด็กชามีไม่พอ  สำหรับตำแหน่งพนักงานเดินโต๊ะและรับใช้อื่นๆ  นักเรียนรัฐศาสตร์ที่มีหน้าตาและหน่วยก้านดีจึงถูก เกณฑ์ไปช่วยในหน้าที่ดังกล่าวโดยนักเรียนที่ถูกเกณฑ์ไปในครั้งนี้ก็ได้มีนายตรึกรวมอยู่ด้วย  เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 ได้ทอดพระเนตรเห็นรูปร่างหน้าตา ผิวพรรณ และหน่วยก้านของหนุ่มน้อยตรึกเข้า ก็ทรงพอพระทัยเป็นอย่างยิ่ง ถึงกับทรงรับสั่งให้เข้าเฝ้า  แล้วทรงไต่ถามถึงเหล่ากอพงษ์พันธุ์ เมื่อพระองค์ทราบแจ้งดีแล้วก็ดำรัสว่า "เมื่อเรียนจบแล้วมาอยู่กับข้่า"  

           "นายตรึก"  ได้ศึกษาชั้นประถมที่โรงเรีนวัดโสมนัส ชั้นมัธยมศึกษาที่โรงเรียนวัดเบญจมบพิตร ชั้นอุดมศึกษาที่โรงเรียนข้าราชการพเรือนหอวัง  (ต่อมาเป็นจุึฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) ได้รับประกาศนียบัตรในวิชารัฐศาสตร์ เมื่อจบการศึกษาแล้วได้เข้าซ้อมรบเสือป่าที่ค่ายหวงจังหวัดราชบุรี  พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้.าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าๆรับสั่งให้เข้ารับราชการในราชสำนักนับแต่นั้นเป็นต้นมา

          ท่านได้ปฏิบัติงานด้วยความวิริยะอุตสาหะทุ่มเทกำลังกาย  กำลังใจ ถวายชีวิตและความสุขส่วนตัวเพื่อพระองค์ท่านด้วยความจงรักภักดีและความกตัญญูเป็นที่ยิ่ง ด้วยความเอาใจใส่ต่อราชการจึงทำให้ท่านก้าวหน้าในหน้าที่ราชการอย่างรวดเร็ว พออายุ 25 ปี พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ทรงโปรดเกล้าฯเป็นเจ้ากรมห้องพระบรรทมเลื่อนบรรดาศักดิ์ขึ้นเป็น  "พระยาพานทอง" ราชทินนามว่า "นรรัตนราชมานิต"   เรียกขานกันว่าพระยานรรัตนราชมานิต
      ซึ่งเป็นพระยาที่หนุ่มที่สุดในสมัยนั้น และต่อมาได้เป็นองคมนตรีในรัชกาลที่ 6 เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2467

    จนกระทั่งถึงวันถวายพระเพลิงพระมหาธีรราชเจ้ารัชกาลที่ 6 เมื่อวันที่ 24 มีนาคม  พ.ศ. 2468  พระยาท่านเจ้าคุณนรรัตนราชมานิตจึงได้สละทรัพย์สมบัติ มอบที่ดิน และทรัพย์สินเงินทองทั้งหมดให้แ่วัดเทพศีรินทราวาส และอุปสมบทเพื่ออุทิศพระราชกุศลถวายแต่สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ วัดเทพศิรินทราวาส โดยมีสมเด็จพระพุทธโฆษจารย์ (เจริญ ญาณวรเถระ)  เป็นพระอุปัชฌาชย์ได้รับฉายาทางสมณเพศว่า "ธะมุมวิตกุโก ภิกขุ" และได้ครองสมเดศตลอดมาจนถึงมรณภาพ

โอวาทธรรมของ ธมุมวิตกุโก ภิกขุ
"ทำดี  ดีกว่าขอพร" 

ในบรรดาเหรียญพระพุทธคุณต่างๆ ที่พระคุณเจ้าได้แผ่เมตตาบรรจุึพุทธานุภาพให้นั้นจัดว่า "เหรียญนาคปรกจเร"   ซึ่งสร้างขึ้นโดยพล.ต.ท.ชระ วงศ์ชึอุ่ม อดีตจเรกรมตำรวจนั้นได้รับความนิยมอย่างมากขึ้นเรื่อยๆ จากราคาเดิมที่ท่านผู้สร้างตั้งราคาให้ช่วยทำบุญไว้เพียงเหรียญละ 20 บาท มาถึงปัจจุบันนี้ก็มีราคาพุ่งไปหลายพันบาทแล้ว

   เหรียญนี้มีลักษณะเป็นรูปไข่ ด้านหน้าเป็นพระนาคปรก มีเศียรอยู่ 7 เศียร  ด้านล่างของเหรียญจารึกข้อความเป็นภาษาไทยว่า "ปลุกเสกโดยท่านธมุมวิตกุโก (ท่านเจ้าคุณนรรัตน์ราชมานิต) มีเส้นนูนเล็กๆรูปยันต์น้ำเต้า จารึกอักขระภาษาขอมว่า "อะ อุ มะ"  ซึ่งหมายถึงพระรัตนตรัยแก้วสามประการ  ล่างสุดเป็นอักษรขอมจารึกพระนามย่ออุปัชฌาย์ว่า พ.ฆ.อ. (สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ญาณวรมหาเถระ) ใต้ยันต์น้ำเต้ามี "อุ" อีกหนึ่งตัว  ด้านขอบบนของเหรียญมีภาษาไทยจารึกว่า  "ในงานทอดผ้าป่าวัดอุ่มพุทธาราม"  ส่วนด้านล่างจารึกอักษร ภาษาไทยว่า "ของจเรตำรวจ พ.ศ.2514"

     ในวงการพระเครื่องได้แยกเหรียญปรกจเรไว้ว่ามีอยู่ 5 พิมพ์ โดยถือว่าวีพิมพ์ด้านหน้าอยู่พิมพ์เดียว แต่พิพ์ด้านหลังมีอยู่ 5 พิมพ์ ที่เป็นดังนี้เพราะในการจะปั๊มพระให้ได้ถึง 84000 เหรียญนั้นแม่พิมพ์ (บล็อก)ด้านหลังซึ่งใช้เป็นต้วตอก เมื่อตอกนานๆ เข้าก็เกิดแตกร้าว ดังนั้นจึงต้องสร้างขึ้นถึง 5 พิมพ์จึง จะพิมพไดุ้ถึง 84.000 เหรียญ และแม่พิมพ์ที่ใช้พิมพ์ทั้งหมดนั้น ท่านจเรตำรวจได้ทำลายทิ้งหมดแล้วเพิ่มเป็นเครื่องแสดงว่าเหรียญพิมพ์ปรกจเรนั้นมีอยู่เพียง 84.000 เท่านั้นพิมพ์ด้านหลัง ซึ่งแยกออกได้เป็น 5 พิมพ์ มีดังนี้

1. พิมพ์ดาวกระจาย เป็นพิมพ์ยอดนิยอันดับหนึ่ง คือมีจุดตรงกลางระหว่างตัวอุกับตัวมะ ในยันต์น้ำเต้าจะมีจุดเล็กๆ เป็นขีดคร่อมรอบจุดกลางในลักษณะคล้ายดอกจันทร์ค่อนข้างมาทางตัวมะ และตรงกลางจะเว้าเป็นแอ่งกะทะ แต่ของปลอมจะทำเต็ม

2. พิม์สี่จุดคือตรงจุดกางระหว่างตัว อุกับ มะ จะมีจุดเล็กๆ อยู่กลุ่้มหนึ่ง อยู่ค่อนไปทางตัวอุ มีประมาณ5จุด พิพ์นี้เป็นพิมพ์นิยมรองลงมา

3. พิมพ์ 2 จุด คือ ตรงกลางเดิมระหว่างตัว อุ กับ มะ จะมีจุดเล็ก 2 จุด จุดหนึ่งใหญ่อีกจุดหนึ่งเล็ก อยู่ชิดไปทางต้วอุ

4. พิมพ์ 1 จุด นอกเหนือไปจากจุดกลางระหว่างตัว อุ กับ มะ แล้ว จะมีจุดเล็กๆ เพิ่มอีกจุดหนึ่ง อยู่ชิดทางตัวอุ

5. พิมพ์เรียบ คือมีพื้นรอบๆ ระหว่างจุดกึ่งกลางตัว อุ กับ มะ จะไม่มีจุดอะไรผุดขึ้นมาเลย





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น